วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วจีกรรม 4 หมายถึง



วจีกรรม เกิดจาก พูดเท็จ ส่อเสียด เพ้อเจ้อ และ พูดหยาบ
คนที่มีวจีกรรมไม่ดี เทวดา และมนุษย์ทราบดีครับ กรรมนั้นหนีไม่พ้นครับ
หากจะเจริญจิตที่ดี ต้องมีวจีกรรมที่ดี สร้างสรรค์ครับ
ขอบุญกุศลจงประสบแต่คนคิดดี ทำดี พูดดี ขอหลีกหนีคนใจร้าย ใจดำ
อำมหิตครับ สาธุ
.......................
จากหนังสือบทสรุปการเรียนของ กศน.
กายกรรม3
ประพฤติชอบทางกาย มี 3 อย่างคือ
(1) เว้นจากฆ่าสัตว์
(2) เว้นจากลักทรัพย์
(3) เว้นจากประพฤติผิดในกาม
วจีกรรม 4 หมายถึง การเป็นผู้มีความประพฤติดีซึ่งแสดงออกทางวาจา 4 ประการ ได้แก่
(1) เว้นจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่ความจริง ไม่พูดโกหก หลอกลวง
(2) เว้นจากการพูดส่อเสียด คือ พูดแต่ในสิ่งที่ทำให้เกิดความสามัคคี
กลมเกลียว ไม่พูดจา
ในสิ่งที่ก่อให้เกิดความแตกแยก แตกร้าว
(3) เว้นจากการพูดคำหยาบ คือ พูดแต่คำสุภาพ อ่อนหวาน อ่อนโยน
กับบุคคลอื่นทั้งต่อหน้า
และลับหลัง
(4) เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ คือพูดแต่ความจริง
มีเหตุมีผลเน้นเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์
พูดแต่สิ่งที่จำเป็นและพูดถูกกาลเทศะ
มโนกรรม 3 หมายถึง ความประพฤติที่เกิดขึ้นในใจ 3 ประการ ได้แก่
(1) ไม่อยากได้ของของเขา คือ ไม่คิดจะโลภอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน
(2) ไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น คือ มีจิตใจดี มีความปรารถนาดี
อยากให้ผู้อื่นมีความสุข
ความเจริญ
(3) มีความเห็นที่ถูกต้อง คือ มีความเชื่อในเรื่องการทำความดีได้ดี
ทำชั่วได้ชั่ว และมีความ
เชื่อว่า ความพยายามเป็นหนทางแห่งความสำเร็จ
อกุศลกรรมบท 10
อกุศลกรรมบท 10 เป็นหนทางแห่งการทำความชั่ว ความไม่ดี 10 ประการ
แบ่งออกเป็น 3 ทางคือ
กายกรรม 3 วจีกรรม 4 และมโนกรรม 3
สังคหวัตถุ 4
สังคหวัตถุ 4 เป็นหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาที่เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อยึดเหนี่ยวจิตใจคนอื่นที่ยัง
ไม่เคยรักใคร่นับถือ ให้เกิดความรัก ความนับถือ
สังคหวัตถุเป็นหลักธรรมที่ช่วยผูกไมตรีซึ่งกันและกันให้
แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ประกอบด้วย ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตตา
1. ทาน คือ การให้ปันสิ่งของของตนให้แก่ผู้อื่นด้วยความเต็มใจ
เพื่อให้ประโยชน์แก่ผู้รับ การให้
เป็นการยึดเหนี่ยวน้ำใจกันอย่างดียิ่ง เป็นการสงเคราะห์สมานน้ำใจกัน
ผูกมิตรไมตรีกันให้ยั่งยืน
2. ปิยวาจา คือ การเจรจาด้วยถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน
พูดชวนให้คนอื่นเกิดความรักและนับถือ
คำพูดที่ดีนั้นย่อมผูกใจคนให้แน่นแฟ้นตลอดไป หรือแสดงความเห็นอกเห็นใจ
ให้กำลังใจ รู้จักพูดให้เกิด
ความเข้าใจดี สมานสามัคคี
ย่อมทำให้เกิดไมตรีทำให้รักใคร่นับถือและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
3. อัตถจริยา คือ การประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน
คือช่วยเหลือด้วยแรงกายและขวนขวาย
ช่วยเหลือกิจการต่าง ๆ ให้ลุล่วงไป เป็นคนไม่ดูดาย
ช่วยให้เกิดสติสำนึกในความผิดชอบชั่วดี หรือช่วย
แนะนำให้เกิดความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพ
4. สมานัตตตา คือ การวางตนเป็นปกติเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ถือตัว การวางตนให้เหมาะสม
กับฐานะของตนตามสภาพ ได้แก่ เป็นผู้ใหญ่ ผู้น้อย หรือผู้เสมอกัน
เอาใจใส่ปฏิบัติตามฐานะ ผู้น้อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น