วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2561

หมู่บ้าน ปฐมทราวดี-- องค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม

องค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม



องค์พระปฐมเจดีย์ไม่เคยมีนักโบราณคดีมาขุดค้นทำการศึกษา เป็นหลักฐาน คงมีแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ทำการขุดลงไปภายในซากเจดีย์พบอิฐหลายขนาด หลายรุ่น จึงทรงพิเคราะห์ว่าเจดีย์องค์นี้เป็นเจดีย์เก่าแก่ ที่มีการสร้างเสริมต่อเติมมาหลายครั้ง สมัยที่พระองค์ทรงทอดพระเนตรครั้งแรกนั้น พระเจดีย์เป็นฐานกลม แต่มียอดเป็นปรางค์ ซึ่งเป็นส่วนที่ทำขึ้นใหม่ ยอดเจดีย์เดิมหักไป จึงให้ทำการบูรณะให้งดงามสูงใหญ่แล้วให้ชื่อว่า "พระปฐมเจดีย์" จากการศึกษารูปแบบขององค์พระปฐมเจดีย์ในอดีตจากข้อมูลด้านต่างๆแล้ว อาจสันนิษฐานได้ว่าพระเจดีย์องค์นี้คงจะมีรูปลักษณะที่แตกต่างกันไปตามยุค สมัยดังนี้

เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งชมพูทวีป เผยแพร่พุทธศาสนามายังดินแดนสุวรรณภูมิโดยพระโสณะเถระ และพระอุตรเถระ เป็นสมณฑูต ทำ ให้เกิดการสร้างสถูปสำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าขึ้น ณ เมืองโบราณของจังหวัดนครปฐมในอดีตรูปร่างของสถูปคงเป็นลักษณะเดียวกับสถูป ที่เมืองสาญจิ ในรัฐมัธยมประเทศ ภาคกลางของอินเดียในอดีต เป็นศิลปะสมัยคุปตะมีความสูงประมาณ 37 เมตร (18 วา 2 ศอก) มีอายุล่วงมาแล้ว 2,245 ปี

องค์พระปฐมเจดีย์เกิดขึ้น เพราะพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพบเจดีย์ขนาดใหญ่มียอดเป็นปรางค์ ก่อขึ้นไปบนเนินดินอยู่กลางป่า พิเคราะห์ดูแล้วว่าเป็นของโบราณ ชาวบ้านนับถือสักการะกันมาเป็นเวลายาวนาน เรียกว่า "พระธม" มีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ภายใน ทรงเลื่อมใสศรัทธาแล้วทำการบูรณะให้มีความใหญ่โตถาวร เป็นการสืบพระพุทธศาสนาให้คู่กับชาติไทยสืบไป พระองค์โปรดเกล้าฯให้บูรณะเป็นเจดีย์ทรงลังกากลม สูง 120.45 เมตร นับว่าเป็นเจดีย์ที่มีความสูงที่สุดในโลก ให้ชื่อว่า "พระปฐมเจดีย์" ตาม หนังสือเก่าๆที่พระองค์ทรงทอดพระเนตรพบ ห่อหุ้มเจดีย์ทั้งสามสมัยดังกล่าวไว้ถ้าเดินเข้าไปในช่องบัวใบเทศ จะพบที่ว่างภายในเป็นทางให้เดินทักษิณาวัตรรอบพระปฐมเจดีย์องค์เดิมได้ แต่จะไม่เห็นผิวของเจดีย์องค์เดิมมากนักเพราะมีการก่ออิฐหุ้มไว้ มีช่องขนาด 175 x 75 เซนติเมตรอยู่ทั้ง 4 ทิศ เปิดผิวเจดีย์องค์เดิมให้เห็นได้เล็กน้อย เมื่อเดือนธันวาคม 2544 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามราชกุมาร เสด็จมาทำพิธีบรรจุพระพุทธรูปของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ลงในช่องทิศตะวันออกพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหารเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย ที่สำคัญและเชิดหน้าชูตา นั่น คือองค์พระปฐมเจดีย์ ปูชนียสถานสำคัญทางพระพุทธศาสนาเจดีย์องค์แรกในสุวรรณภูมิก่อนแห่งใดในโลก จึงเป็นที่เชิดหน้าชูตาของชาวไทยทั้งชาติ แทบทุกวันจะมีนักทัศนาจรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมานมัสการอยู่เสมอ เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์ เนื่องจากรวบรวมโบราณวัตถุไว้มากมาย เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ จากหนังสือเรื่องพระปฐมเจดีย์กับนำเที่ยวของ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงนิพนธ์ไว้ ท่านให้ความเห็นเกี่ยวกับการสร้างพระปฐมเจดีย์ว่า การที่จะทราบว่าพระปฐมเจดีย์สร้างขึ้นเมื่อใด และใครเป็นผู้สร้างนั้น จะต้องย้อนกล่าวตั้งแต่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธนิพพาน พระพุทธศาสนาได้แพร่หลายอยู่ในมัชฌิมประเทศคืออินเดียตอนกลาง แต่ยังหาได้เป็นศาสนาประธานของประเทศไม่ ต่อมาสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชขึ้นครองราชสมบัติ ในแคว้นมคธของอินเดียเมื่อ พ.ศ. 274 ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีพระเดชานุภาพใหญ่หลวง พระองค์สลดพระทัยในการรบพุ่ง มุ่งหมายจะแผ่พระเดชานุภาพทางธรรมเพราะทรงเห็นว่า พระพุทธศาสนามีคติธรรมล้ำเลิศกว่าศาสนาอื่น ๆ จึงทรงอุปถัมภ์และเผยแพร่ในนานาประเทศ โดยส่งพระสงฆ์เป็นสมณฑูตออกไป มีข้อความตอนหนึ่งในหนังสือมหาวงศ์คือ พงศาวดารของเกาะลังกา โดยพรรณาไว้ว่า "สุวรรณภูมิ เถเรเทวโสณ อุตตรเมวจ" แปลความว่า ให้พระโสณเถระกับพระอุตรไปยังสุวรรณภูมินักปราชญ์ทั้งหลายเห็นพ้องกับอาจารย์ริสเดวิดส์ที่ว่าเริ่มต้นแต่รามัญประเทศ (คือเมืองมอญ) ไปจดเมืองญวน และตั้งแต่พม่าไปจนถึงปลายแหลมมาลายูเมืองนครปฐม น่า จะเป็นราชธานีของสุวรรณภูมิ และคงเรียกว่า สุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศด้วยหลักฐานที่ปรากฏชัดว่าเมืองนครปฐมเป็นเมือง ที่พระพุทธศาสนามาเผยแพร่เป็นครั้งแรกที่นี่คือ องค์พุทธเจดีย์ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยเดียวกับครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชยังครองราชสมบัติ อยู่แน่นอน เพราะลักษณะองค์เจดีย์นั้น เดิมเป็นสถูปกลมรูปทรงคล้ายบาตรคว่ำ (โอคว่ำ) แบบสัญจิเจดีย์ ในประเทศอินเดียที่พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้และวัดที่สร้างขึ้นเป็นวัดแรก ในประเทศไทย ก็คือ วัดพระปฐมเจดีย์นี่เองผู้ปกครองวัดหรือสมภารเจ้าวัดก็คือพระอรหันต์ ผู้นำพระพุทธศาสนามาเผยแพร่ในยุคนั้นผู้สร้างพระเจดีย์องค์เดิม จะต้องเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่มีกำลังความสามารถมากและคงสร้างไว้ ในเมืองหลวงด้วย พระสถูปองค์เดิมสูง 19 วา 2 ศอก (35 เมตร) หลักฐานอื่น ๆ ที่พบมากได้แก่ พระสถูปต่าง ๆ ศิลธรรมจักร จารึกพระธรรมเป็นภาษามคช คือ คาถาเยธมมา พระแท่นพุทธอาสน และรอยพระพุทธบาท ทำเป็นที่สักการะแทนพระพุทธรูปในสมัยนั้น ยังไม่มีพระพุทธรูป ลักษณะขององค์พระเจดีย์ตอนบนเป็นพุทธอาสนสี่เหลี่ยมตั้งไว้มีฉัตรปักเป็น ยอด ฐานพระสถูปเป็นรูปสี่เหลี่ยมรอบฐานทำเป็นที่เดินประทักษิณ มีรั้วล้อมรอบภายนอก ก่อด้วยอิฐชนิดเดียวกันเมื่อมีพระปฐมเจดีย์ก็น่าจะมีสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ตามมามีการปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์เป็นครั้งคราวโดยเฉพาะในฤดูเข้าพรรษา สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงกล่าวไว้ในหนังสือมูลเหตุแห่งการสร้าง วัดในประเทศสยามข้อ 3 ว่า ”…ที่ลานพระปฐมเจดีย์ ข้าพเจ้าได้ลองให้ขุดคูแห่งหนึ่งที่ริมถนนขวาพระ ก็พบซากห้องกุฏิพระสงฆ์แต่โบราณ....." ก็แสดงว่าวัดแรกของประเทศไทยก็คือวัดพระปฐมเจดีย์นี่เอง และกุฏิสมัยนั้นอยู่ทางด้านขวาพระเมืองนครปฐมได้เจริญและเสื่อมลง วัดพระปฐมเจดีย์ก็เช่นเดียวกันได้ชำรุดทรุดโทรมรกร้างไปตามสภาพบ้านเมือง จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 2 ในราชวงศ์จักรี กุฏิของพระสงฆ์ได้ย้ายมาอยู่ทางด้านทิศเหนือขององค์พระปฐมเจดีย์ คือทางด้านหน้าวิหารพระร่วงโรจนฤทธิ์ ศาลาการเปรียญอยู่บริเวณด้านพระศรีมหาโพธิ์ หมู่กุฏิพระสงฆ์ ปลูกอยู่ทางด้านตะวันตกของศาลาการเปรียญ ส่วนพระอุโบสถคงอยู่ ณ ที่เดิมคือ ด้านตะวันออก ตรงกับพระอุโบสถในปัจจุบัน เพียงแต่ว่าตั้งอยู่กับพื้นดินการสร้างพระเจดีย์จะต้องบรรจุพระบรม สารีริกธาตุ แน่นอนเพราะสมัยที่พระเจ้าอโศกมหาราช ได้ทรงมอบพระบรมสารีริกธาตุให้สมณฑูตทุกสาย สมณฑูตเหล่านั้นเมื่อประกาศพระพุทธศาสนา ณ ที่ใดเป็นหลักฐานมั่งคงแล้ว ก็จะสร้างพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเช่นเดียวกับที่พระองค์ได้ ทรงกระทำในชมพูทวีป

พระปฐมเจีย์ได้รับการปฏิสังขรร์มาหลายสมัยจากสถูปทรงโอ่งคว่ำ คือ
1. สมัยสุวรรณภูมิ ตั้งแต่แรกสร้างปฐมเจดีย์ ราว พ.ศ. 350 - ราว พ.ศ. 1000
2. สมัยทวารวดี เป็นสมัยที่ก่อสร้างเพิ่มเติมองค์พระปฐมเจดีย์ตั้งแต่ ราว พ.ศ. 1000 จนถึง พ.ศ. 1600
3. สมัยพระปฐมเจดีย์ทรุดโทรม ตั้งแต่ พ.ศ. 1600 จนถึง พ.ศ. 2396 จนถึงสมัยปัจจุบัน
รูปพรรณสัณฐานขององค์พระปฐมเจดีย์องค์เดิม ๆ เป็นอย่างไรก็ขอให้พิจารณาดูรูปเขียนบนฝาผนังด้านองค์พระเจดีย์ และมีเจดีย์จำลองอย่างทางทิศใต้ ในเรื่องการสร้างองค์เจดีย์แต่เดิมนั้น มีเล่าสืบ ๆ กันมาเป็นตำนานอยู่หลายตำนานด้วยกัน ดังจะยกจากเรื่องพระปฐมเจดีย์ของท่านเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ชำ บุนนาค) เรียบเรียงไว้แต่ปีฉลู พ.ศ. 2408 ซึ่งสำนักงานจัดทำประโยชน์และรักษาองค์พระปฐมเจดีย์ จัดพิมพ์เมื่อ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นตำนานฉบับพระยาราชสัมภากรและฉบับตาประขาวรอดได้เล่าไว้ว่า ท้าวภาลีธิราช ครองเมืองศรีวิชัย (คือ เมืองนครชัยศรี) มีบุตรชายชื่อ พระยากง ต่อมาพระยากงได้ครองราชย์สมบัติแทนบิดาที่สวรรคตไป

พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ทวารวดี...คู่บารมีหลวงปู่บุญ

หนึ่งในประติมากรรมทางพุทธศาสนาสมัยทวาราวดีที่สำคัญซึ่งพบที่จังหวัดนครปฐมนั้น คือ พระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ ซึ่งมีความสูงโดยประมาณ ๓.๒ – ๔ เมตร ประทับนั่งบนบัลลังก์ ห้อยพระบาททั้งสองบนฐานกลีบบัว เป็นปางทรงแสดงธรรม (วิตรรกมุทรา) พระพุทธรูปศิลาที่พบมีทั้งสิ้น ๕ องค์ โดยพระพุทธรูปนั่ง ๔ องค์ นั้นเป็นศิลาขาว ส่วนอีก ๑ องค์ ซึ่งมีความแตกต่างจากทั้ง ๔ องค์ ทำจากศิลาเขียว
พระพุทธรูปทั้ง ๕ องค์ มีการเคลื่อนย้ายจากพุทธสถานเดิม ไปประดิษฐานตามที่ต่างๆ กล่าวคือ คือ ที่นครปฐม ประดิษฐาน ณ พระปฐมเจดีย์ ๒ องค์ ที่กรุงเทพฯ ประดิษฐาน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ๑ องค์ ที่พระนครศรีอยุธยา ประดิษฐาน ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา ๑ องค์ และในวิหารน้อย วัดหน้าพระเมรุ ซึ่งเป็นพระศิลาเขียว อีก ๑ องค์ ในบทความนี้ จะได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมา ของพระพุทธรูปศิลาขาวซึ่งเป็นองค์พระประธานในอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์ ที่จังหวัดนครปฐมเป็นลำดับแรก

พระประธานศิลาขาวในโบสถ์พระปฐมเจดีย์...เดิมทีอยู่ในวัดร้าง

องค์พระประธานศิลาขาวในพระอุโบสถพระปฐมเจดีย์นั้น เดิมมีการพบและอัญเชิญท่านมาจากพุทธสถานร้างแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม ดังพบข้อความที่มีความแตกต่างกันในการกล่าวถึงประวัติการพบองค์พระพุทธรูป ปรากฎในหน้า ๒-๕ ของหนังสือเรื่อง “พระพุทธรูปศิลาขาว สมัยทวารวดี” เรียบเรียงโดย ธนิต อยู่โพธิ์ (อธิบดีกรมศิลปากรขณะนั้น) โดยหนังสือดังกล่าวจัดพิมพ์ขึ้นในโอกาส ฯพณฯ จอมพลถนอม กิตติขจร (นายกรัฐมนตรีขณะนั้น) มาทำพิธีเปิดป้ายพระนามพระพุทธรูปศิลาขาว องค์ที่ประดิษฐาน ณ ลานชั้นลดด้านใต้ และวางศิลาฤกษ์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ซึ่งตั้งอยู่ในทิสเดียวกัน เมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๑๐ หนังสือดังกล่าว ได้กล่าวถึงประวัติการพบองค์พระพุทธรูปเป็น ๒ นัย คือ นัยตามคำบอกเล่าของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และ อีกนัยเป็นประวัติสังเขปซึ่งพระธรรมวโรดม (โชติ) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ได้บันทึกไว้ ผู้เขียนได้ตรวจสอบข้อความตามนัยทั้ง ๒ จากหนังสือที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม คือ “เล่าเรื่องไปชวาครั้งที่ ๓” จัดพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๑๓ และ “เรื่องพระปฐมเจดีย์ กรมศิลปากรตรวจสอบชำระใหม่ และการบูรณะและปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์” จัดพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงขอยกข้อความจากหนังสือทั้ง ๒ เรื่องนี้ มาเพื่อพิจารณา กล่าวคือ

พระศิลาขาว...คำบอกเล่าของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ
ประวัติพระศิลาขาวซึ่ง สมเด็จฯ ตรัสเล่าไว้ตามที่ธนิต อยู่โพธิ์ ยกมากล่าวในหนังสือเรื่อง “พระพุทธรูปศิลาขาว สมัยทวารวดี” เมื่อตรวจสอบจากหนังสือเรื่อง “เล่าเรื่องไปชวาครั้งที่ ๓” ฉบับพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมเจ้าหญิงพัฒนายุ (เหลือ) ดิศกุล พระธิดาในสมเด็จฯ และหม่อมลำดวน (วสันตสิงห์) เมื่อ ๑๐ เมษายน ๒๕๑๓ หน้า ๒๘-๓๐ มีความหลักต้องตรงกัน แต่รายละเอียดปลีกย่อยและสะกดคำบางแห่งต่างกันเล็กน้อย ในที่นี้จะยึดคำและความตามหนังสือ“เล่าเรื่องไปชวาครั้งที่ ๓” ดังนี้

“เมื่อดูพระพุทธรูปที่เมนดุ๊ต คิดเห็นข้อสำคัญในเรื่องโบราณคดีขึ้นข้อหนึ่ง น่าจะจดลงไว้ตรงนี้ด้วย คือพระพุทธรูปห้อยพระบาททำด้วยศิลาขนาดนี้ไม่ปรากฏว่ามีในเมืองพะม่า มอญ เขมรเลย ในชะวาก็มีแต่องค์เดียว แต่ไปมีในประเทศสยามถึง ๔ องค์ ตรวจได้หลักฐานว่าเดิมมีพระเจดีย์โบราณองค์หนึ่งในตำบลพระปฐมเจดีย์ (อยู่ในบริเวณสวนนันทอุทยาน ของสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ) ชาวบ้านเรียกกันมาแต่ก่อนว่า “พระเมรุ” องค์พระเจดีย์เดิมรูปร่างจะเป็นอย่างไรรู้ไม่ได้ ด้วยหักพังเสียหมดแล้ว รู้ได้แต่ว่ามีพระพุทธรูปศิลาเช่นว่า ตั้งไว้ที่มุขพระเจดีย์นั้นด้านละองค์ องค์ ๑ เมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยาย้ายเอาไปไว้ที่วัดมหาธาตุในพระนคร* ครั้นถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ ๓ พระยาชัยวิชิต (เผือก) เชิญมาไว้ที่วัดหน้าพระเมรุจนบัดนี้ เมื่อข้าพเจ้าเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ขุดพบศิลาทับหลังเรือนแก้วที่ “พระเมรุ” จึงรู้ว่าพระพุทธรูปองค์วัดหน้าพระเมรุนั้นเดิมอยู่ที่พระปฐมเจดีย์ อีกองค์หนึ่งเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ขุดพบที่ “พระเมรุ” เหมือนกัน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ตั้งเป็นพระประธานอยู่ที่ในพระอุโบสถพระปฐมเจดีย์จนบัดนี้ อีก ๒ องค์ก็ขุดพบที่ “พระเมรุ” ในสมัยเมื่อข้าพเจ้าจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานที่พระปฐมเจดีย์ แต่เหลืออยู่เป็นชิ้นๆ ไม่บริบูรณ์ ยังรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานพระปฐมเจดีย์จนบัดนี้ น่าสันนิษฐานว่าพระพุทธรูปทั้ง ๕ องค์นั้นจะสร้างในสมัยเดียวกันเมื่อราว พ.ศ.๑๔๐๐ ตามแบบครั้งราชวงศ์คุปตะครองมัชฌิมประเทศ และการถือพระพุทธสาสนาจะเป็นอย่างมหายานด้วยกัน ทั้งที่ในชะวาและประเทศสยามนี้”

*หมายเหตุ คำว่า พระนคร ในหนังสือเรื่อง “พระพุทธรูปศิลาขาว สมัยทวารวดี” มีวงเล็บคำ (ศรีอยุธยา) ต่อท้าย ให้ทราบว่าเป็นพระนครศรีอยุธยา

พระศิลาขาว...บันทึกประวัติ ของพระธรรมวโรดม (โชติ)
พระธรรมวโรดม (ธมฺมปฺปชฺโชติโก โชติ) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ (ดำรงตำแหน่ง ๒๔๖๕-๒๔๙๗) ได้บันทึกเรื่อง “ประวัติสังเขป พระพุทธรูปศิลาปางปฐมเทศนาที่ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถนี้” เพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ในคราวเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้ากฐิน ณ พระปฐมเจดีย์ เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ โดยผู้เขียนได้คัดลอกข้อความจาก หนังสือ “เรื่องพระปฐมเจดีย์ กรมศิลปากรตรวจสอบชำระใหม่ และการบูรณะและปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์” หน้า ๑๕๕-๑๕๖ ซึ่งจัดพิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลในงานพระราชทานเพลิงศพ พระธรรมสิริชัย (ชิต ชิตวิปุลเถร) เจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๒๘ ซึ่งท้ายเรื่องดังกล่าว มีหมายเหตุแจ้งที่มาของบันทึกประวัตินี้ว่า ได้รับเอกสารมาจากพระธรรมสิริชัย (ชิตวิปุโล ชิต) ซึ่งท่านเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น (ดำรงตำแหน่ง ๒๔๙๗-๒๕๒๗) มีความดังนี้

“ท่านพระปลัดทอง พระอธิการวัดกลางบางแก้ว (วัดคงคา) ได้มาเห็นวัดพระปฐมเจดีย์ ซึ่งเวลานั้นว่างเจ้าอาวาส กุฏิเสนาสนะชำรุดมาก ท่านจึงพร้อมกับสามเณรบุญ (ภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระพุทธวิถีนายก ตำแหน่งพระราชาคณะสามัญ เจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว) ผู้เป็นศิษย์ ได้มาช่วยบอกบุญขอแรงชาวบ้านตำบลพระปฐม ไปขนอิฐที่วัดทุ่งพระเมรุ (ครั้นมาในรัชกาลที่ ๖ พระราชทานนามวัดทุ่งพระเมรุใหม่ว่า สวนนันทอุทธยาน) เพื่อมาใช้ในการบูรณะปฏิสังขรณ์ในบริเวณพระปฐมเจดีย์ ได้เห็นจอมปลวกขนาดใหญ่ตั้งอยู่ในบริเวณโบราณสถานที่นั้น และได้เห็นพระเกตุมาลาโผล่ที่ยอดจอมปลวก จึงช่วยกันทำลายจอมปลวกนั้นออกแล้ว ปรากฏเป็นพระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ มีรอยต่อเป็นท่อนๆ จึงถอดตามรอยต่อนั้นออก แล้วนำมาประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์นี้ เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๔ (ปลายรัชกาลที่ ๔) ก่อนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครองราชสมบัติ ๗ ปี นับถึง พ.ศ.ปัจจุบันนี้ได้ ๙๓ ปี*”

*หมายเหตุ นับถึง พ.ศ.ปัจจุบันนี้ได้ ๙๓ ปี หมายถึง นับแต่ พ.ศ.๒๔๐๔-๒๔๙๗ ที่อัญเชิญพระศิลาขาวมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถสมัย ร.๔ ทั้งนี้ มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการสร้างพระอุโบสถในรัชสมัยของพระองค์ จากหนังสือ เรื่องพระปฐมเจดีย์ กรมศิลปากรตรวจสอบชำระใหม่ฯ หน้า ๑๕๓-๑๕๔ ปรากฎข้อความจาก จดหมายหมายเหตุ ร.๔ จ.ศ. ๑๒๒๔ เลขที่ ๑๒๕ บอกมา ณ วัน ๑ เดือน ๔ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีจอ จัตวาศก (๑๒) ตรงกับ วันอาทิตย์ที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๐๕ “เรื่อง ทำรากพระอุโบสถและโรงธรรม” กล่าวว่า “...บนองค์พระได้ทำรากพระอุโบสถ รากโรงธรรมที่ก่อฤกษ์แล้วเสร็จทั้งสองหลัง...” ปีในการทำรากพระอุโบสถ พ.ศ.๒๔๐๕ และปีที่ประดิษฐานพระศิลาขาว พ.ศ.๒๔๐๔ เป็นตัวเลขที่มีความคลาดเคลื่อนไม่ลงรอยกัน

พระปลัดทอง ส่องนำญาณจากพระศิลา...สู่สามเณรบุญ
ประวัติการพบพระศิลาขาว องค์ประธานในพระอุโบสถพระปฐมเจดีย์นี้ นอกจากความดังยกมากล่าวทั้ง ๒ นัยข้างต้น ผู้เขียนได้พบข้อความจากหนังสือเรื่อง “หลวงปู่บุญ (พระพุทธวิถีนายก วัดกลางบางแก้ว) เล่ม ๒ : การสร้างเครื่องรางของขลังและพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ” ซึ่งสุธน ศรีหิรัญ ผู้แต่งมีพื้นเพเป็นชาว ต.บางกระเบา อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม และเคยอุปสมบท ณ วัดกลางบางแก้ว โดยมีพระพุทธวิถีนายก (เพิ่ม ปุญฺญวสโน) ผู้เป็นศิษย์เอกที่อยู่รับใช้ใกล้ชิดพระพุทธวิถีนายก (บุญ ขนฺธโชติ) เป็นพระอุปัชฌาย์ และในการเรียบเรียงหนังสือประวัติหลวงปู่บุญนี้ข้อมูลบางส่วนได้ประมวลจากคำบอกเล่าของหลวงปู่เพิ่ม และบุคคลอื่นๆ ที่อยู่ร่วมสมัยกับหลวงปู่บุญ โดยเนื้อหาที่ปรากฎเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธรูปศิลาขาวนี้ อยู่ในหัวข้อ “ภาคกฤดาณุภาพ” หน้า ๑๓๐-๑๓๑
กล่าวถึงในพุทธศักราช ๒๔๐๙ ขณะเมื่อสามเณรบุญ ซึ่งบวชได้ ๓ พรรษาล่วงมา อยู่ในวัย ๑๘ ปี และได้ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานด้วยความเพียร จนล่วงได้วิสุทธิครบ ๗ ประการ คือ ศีลวิสุทธิ จิตวิสุทธิ ญาณทัสสนวิสุทธิ ทัฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ และปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ก่อให้ญานของท่านเข้มแข็งแก่กล้าเป็นที่พอใจแก่พระอาจารย์ผู้ฝึกฝน คือ พระปลัดทอง พระอธิการวัดคงคาราม (ชื่อเดิมของวัดกลางบางแก้ว) ซึ่งเป็นพระอาจารย์ผู้เจนจบในการวิปัสสนาและขลังด้วยพุทธาคม โดยพระปลัดทองได้เกิดนิมิต ดังข้อความว่า

วันเพ็ญเดือนเก้า ปี พ.ศ.๒๔๐๙ นั้นเอง ท่านอาจารย์พระปลัดทองเกิดนิมิตในญานเห็นว่า อันบริเวณองค์พระปฐมเจดีย์นั้น โอภาสงามจรัสด้วยพระบรมสารีริกธาตุสว่างไสว มีเปลวรัศมีโชติช่วงที่ปลายยอดพระเจดีย์งามยิ่งนัก ครั้นพิจารณาโดยบริเวณทั่วไปทางด้านเหนือขึ้นไปไม่ไกลกันกับองค์พระปฐมเจดีย์ก็เห็นเป็นรังสีเหลืองแผ่กำจายรุ้งสว่างในอาณาบริเวณสุมทุมพุ่มพฤกษ์ น่าอัศจรรย์  จึงตรวจด้วยญาณให้เห็นแจ่มแจ้งก็ทราบว่าบริเวณนั้นเป็นวัดเก่าแก่ที่ร้างโรยมานานนับหลายร้อยปี มีแต่ต้นหญ้าต้นไม้ขึ้นปกคลุม ไม่มีผู้ใดรู้หรือสนใจเป็นที่น่าสังเวชยิ่งนัก เมื่อพิจารณาจิตเป็นสังเวช จึงถอยญาณออกจากสมาธิ แล้วปรารภเรื่องนี้ให้สามเณรบุญได้ทราบเรื่องที่พบเห็นทางจิต

สามเณรบุญ พบพระศิลาขาว...ด้วยปิติแห่งญาณ
ภายหลังจากสามเณรบุญฟังเรื่องราว ได้เกิดความตระหนักอย่างยิ่งในเรื่องวัดร้างที่พระปลัดทองปรารภ จึงทำสมาธิพิจารณาด้วยญาณและนิมิตเห็นภาพพระพุทธรูปอันงดงามยิ่งด้วยพุทธลักษณะ ท่านได้พิจารณาจนจิตเกิดประภัสสรด้วยความเยือกเย็นถึงที่สุดจึงถอยญาณออกจากสมาธิ แต่ภาพอันประทับในความรู้สึกนั้นคงระลึกอยู่มิรู้คลายไม่ว่าท่านจะทำการสิ่งใด จึงนำความไปเล่าแก่พระปลัดทองเพื่อพิจารณา เมื่อได้ฟังความจากลูกศิษย์พระอาจารย์จึงกล่าวว่า ให้พ้นวันข้างแรมไปก่อนจะพาไปยังสถานที่ตามนิมิต เพื่อดูให้เห็นจริงว่าเรื่องราวที่เกิดในนิมิตนั้นเป็นอย่างไร ดังนั้นเมื่อล่วงเข้าวันเพ็ญคณะอาจารย์ ศิษย์และผู้ติดตามจึงได้พากันมุ่งหน้าจากวัดคงคารามมายังจุดหมาย ดังข้อความว่า
ล่วงถึงวันเพ็ญเดือนสิบปี พ.ศ.๒๔๐๙* พระปลัดทองและสามเณรบุญได้ชวนพระภิกษุและสามเณรอีกหลายรูปเดินทางไปยังจุดนิมิต ด้านเหนือขององค์พระปฐมเจดีย์ เมื่อนำพระสงฆ์และสามเณรนมัสการสักการะองค์พระปฐมเจดีย์แล้ว จึงมุ่งไปยังสถานที่รกร้างปกคลุมด้วยไม้นานาพันธุ์นั้นช่วยกันตัดไม้ดายหญ้าก็พบว่า มีซากโบราณสถานอยู่จริงดังนิมิต จึงช่วยกันจัดแจงดายหญ้าตัดต้นไม้ออกเพื่อให้โล่งเตียน ด้านทิศตะวันออกนั้น สามเณรบุญพบว่า มีจอมปลวกใหญ่อยู่จริงตามที่พบเห็นในญาณ และที่ปลายจอมปลวกมีศิลาสีขาวปลายแหลมโผล่ออกมา จึงเกิดความปิติยินดี พาพระปลัดทองอาจารย์ไปดูก็เห็นว่าควรบัตรพลีรื้อเอาจอมปลวกออก จึงช่วยกันขุดจอมปลวกออก เมื่อจอมปลวกทะลายลงต่างก็อัศจรรย์โดยทั่วกัน เพราะภายในจอมปลวกมีพระพุทธรูปศิลานั่งห้อยบาท ยกมือประทานพรสีขาวนั่งอยู่ ชำรุดทรุดโทรมในบางส่วน จึงช่วยกันถอดชิ้นศิลาที่ต่อเป็นองค์นำออกมาจากจอมปลวกแห่งนั้น
พระปลัดทอง พิจารณาเห็นว่าพระพุทธรูปศิลาองค์นี้มีพุทธลักษณ์งดงาม ศิลปแบบทวารวดีเป็นพระพุทธรูปสำคัญมาแต่โบราณกาล จึงให้พระภิกษุสามเณรช่วยกันถอดออกเป็นชิ้นๆ ลำเลียงไปประดิษฐานไว้ที่วัดพระปฐมเจดีย์
ครั้นนำพระไปไว้ ณ วัดพระปฐมเจดีย์แล้วจึงได้บอกให้ชาวบ้านรู้ช่วยกันมาทำบุญฉลองพระพุทธศิลาทวารวดีองค์นั้น นิมิตของสามเณรบุญจึงลือเลื่องกระเดื่องนามว่าเป็นเลิศด้วย “ญาณ” ทิพย์จักษุแม้เป็นแค่สามเณรเท่านั้น”

*หมายเหตุ ตามที่ผู้เขียนได้ตั้งข้อสังเกตเรื่อง ปีในการสร้างพระอุโบสถสมัยรัชกาลที่ ๔ ซึ่งมีเอกสารจดหมายเหตุระบุปีในการทำรากพระอุโบสถ คือ พ.ศ.๒๔๐๕ และปีที่พระธรรมวโรดม (โชติ) บันทึกประวัติพระศิลาขาวระบุว่าประดิษฐาน พ.ศ.๒๔๐๔ ซึ่งตัวเลขทั้ง ๒ มีความคลาดเคลื่อนไม่ลงรอยกัน แต่เมื่อพบข้อมูลจากประวัติหลวงปู่บุญ ที่ระบุการเดินทางมาพบพระศิลาขาวใน “วันเพ็ญเดือนสิบปี พ.ศ.๒๔๐๙” หรือ ขี้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ซึ่งตรงกับวันจันทร์ที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ.๒๔๐๙ ปีขาล จึงมีความเห็นว่าเป็นไปได้ที่ปีจากบอกเล่าประวัติหลวงปู่บุญนี้อาจเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง ด้วยระยะดังกล่าวยังคงเป็นช่วงปลายสมัย ร.๔ ก่อนจะเสด็จสวรรคต ๒ ปีเศษ (สวรรคตวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑) แต่ก็ยังมิอาจยุติได้ เนื่องจากบันทึกของพระธรรมวโรดม (โชติ) ระบุอีกว่า ก่อนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครองราชสมบัติ ๗ ปี ซึ่งพระองค์ทรงครองราชย์ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ และบรมราชาภิเษก ครั้งที่ ๑ เมื่อ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๑๑ ครั้งที่ ๒ เมื่อ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๖ ทั้งนี้ หากนับปีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๔๑๖ ถอยกลับไปถึงปีที่หลวงปู่บุญพบพระศิลาขาว จะมีระยะเวลา ก่อนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครองราชสมบัติ ๗ ปี ถูกต้องตรงกัน และข้อสังเกตอีกประการ คือ ในสมัย ร.๗ มีการสร้างพระอุโบสถใหม่แทนที่หลังเดิมที่สร้างในสมัย ร.๔ ขณะที่บริเวณพระปฐมเจดีย์มีความเป็นเมืองและมีการคมนาคมขนส่งที่สะดวกขึ้นมากแล้ว ยังใช้เวลาในการสร้างนานถึง ๔ ปี (นับจากถวายแบบพระอุโบสถ ถึงประดิษฐานพระประธาน) จึงอาจมีความเป็นไปได้ที่พระอุโบสถสมัย ร.๔ ใช้เวลาในการก่อสร้าง ๔ – ๕ ปี และเสร็จในช่วงเวลาเดียวกับที่พบพระศิลาขาว พ.ศ.๒๔๐๙ จึงอัญเชิญขึ้นประดิษฐานเป็นพระประธาน ซึ่งขณะนั้นยังอยู่ในช่วง ๒ ปีสุดท้ายปลายรัชสมัย ร.๔


พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ทวารวดี...คู่บารมีหลวงปู่บุญ

สามเณรบุญ หรือ พระพุทธวิถีนายก ซึ่งชาวนครปฐมมักเรียกท่านว่า หลวงปู่บุญ นับแต่นั้นมาท่านได้มากราบไหว้บูชาพระศิลาขาวอยู่เสมอมิได้ขาด และในวันเพ็ญเดือน ๑๐ ซึ่งเป็นวันที่ท่านได้พบพระพุทธรูปองค์นี้ ท่านจะนำเครื่องบูชามาสักการะเป็นประจำทุกปี แม้เมื่อล่วงเข้าวัยชราก็ยังคงปฏิบัติเป็นประจำมิได้ขาด กระทั่งท่านมรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘ แล้ว ก็ยังคงมีเหตุอัศจรรย์อันเนื่องด้วยพระประธานศิลาขาวนี้เกิดขึ้นแก่พระอาจารย์ใบ คุณวีโร ซึ่งมีศรัทธาจะบูรณะศาลาการเปรียญที่สร้างไว้ในสมัยหลวงปู่บุญแต่ติดขัดปัจจัยที่ต้องใช้เป็นจำนวนมาก กระทั่งต้นปี ๒๕๑๖ หลังจากพระอาจารย์ใบไปอธิษฐานบอกกล่าวต่อหน้ารูปปั้นหลวงปู่บุญและเกิดนิมิตขึ้นว่า ท่านไปกราบพระพุทธรูปศิลาในพระอุโบสถพระปฐมเจดีย์ ได้พบหลวงปู่บุญนั่งอยู่หน้าพระประธานและมอบก้อนโลหะสีขาวขนาดใหญ่ให้ เช้ารุ่งขึ้นหลังพระอาจารย์ใบกลับจากบิณฑบาตรก็มีญาติซึ่งนานๆ ครั้งจะมาพบได้เดินทางมาจากวัดใหม่สุคนธาราม แจ้งว่ามีพระแก่ไปเข้าฝันให้เอาโลหะที่ขุดได้ตอนไถนาที่ ต.ศรีมหาโพธิ์ ซึ่งอดีตเคยเป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี มาถวายที่วัดกลางบางแก้ว พระอาจารย์ใบจึงนำก้อนโลหะนั้นไปถวายพร้อมเล่านิมิตและเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้หลวงปู่เพิ่มฟัง หลวงปู่เพิ่มจึงสันนิษฐานว่าก้อนโลหะนั้นคงเป็น “นิมิตรเมือง” ที่ฝังไว้ใจกลางเมืองตั้งแต่ครั้งโบราณเพื่อปกป้องให้อยู่เย็นเป็นสุข จึงแจ้งให้อาจารย์ใบสร้างพระเครื่องแบบพระประธานในพระอุโบสถตามนิมิตร เพื่อมอบแก่ผู้ร่วมทำบุญบูรณะศาลาการเปรียญทำให้ศาลาแล้วเสร็จในเวลาอันรวดเร็ว

ประวัติศาสตร์มอญ - อาณาจักรทวารวดี (มอญโบราณ)

ประวัติศาสตร์มอญ - อาณาจักรทวารวดี (มอญโบราณ)
อาณาจักรทวารวดี
(พุทธศตวรรษที่ ๑๑–๑๖)
ในสมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๑ นั้นดินแดนอาณาจักรสุวรรณภูมิ ได้ถูกครอบครองโดยแคว้นอิศานปุระ ของอาณาจักรฟูนัน(หรือฟูนาน) และอาณาจักรเจนละ  (หรือเจินละ)  ซึ่งปรากฏหลักฐานว่า ขณะที่อาณาจักรฟูนันสลายตัวลงในพุทธศตวรรษที่ ๑๑ นั้น ได้มีชนชาติอีกพวกหนึ่ง ที่แตกต่างกับชาวเจนละ ในด้านศาสนาและศิลปกรรม ได้มีอิทธิพลเข้าครอบครองดินแดนทางตะวันตกของอาณาจักรเจนละ ตั้งแต่เมืองเพชรบุรี เมืองราชบุรีขึ้นไปทางเหนือจนถึงเมืองลำพูนได้
จดหมายเหตุของภิกษุจีน ชื่อเหี้ยนจั๋งหรือพระถังซัมจั๋ง(Hieun Tsing) ซึ่งเดินทางจากเมืองจีนไปประเทศอินเดียทางบก ราว พ.ศ. ๑๑๗๒–๑๑๘๘ และภิกษุจีน อี้จิง (I-Sing) ได้เดินทางอินเดียไปทางทะเล ในช่วงเวลาต่อมานั้น    ได้เรียกอาณาจักรใหญ่แห่งนี้ ตามสำเนียงชนพื้นเมืองในอินเดียว่า โลโปตี้ หรือจุยล่อพัดดี้(ทวารวดี)  เป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่ระหว่างเมืองศรีเกษตร(อยู่ในพม่า)   ไปทางตะวันออกกับเมืองอิศานปุระ(อยู่ในเขมร) ปัจจุบันคือส่วนที่เป็นดินแดนภาคกลางของประเทศไทย
พงศาวดารจีนสมัยราชวงศ์ฮั่น ได้กล่าวถึงดินแดนแห่งนี้ไว้ว่า “สามารถเดินเรือจากเมืองกวางตุ้งถึงอาณาจักรทวารวดีได้ในเวลา ๕ เดือน”
หลักฐานทางโบราณคดีที่พบในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๑–๑๓ คือเหรียญเงินเส้นผ่าศูนย์กลาง  ๑๙  ม.ม. พบที่นครปฐม และอู่ทองนั้น    พบว่ามีอักษรจารึกไว้ว่า “ศรีทวารวดีศวร”และ  มีรูปหม้อน้ำกลศอยู่อีกด้านหนึ่ง  ทำให้เชื่อได้ว่า ชนชาติมอญโบราณ ได้ตั้งอาณาจักรทวารวดี(บางแห่งเรียกทวาราวดี) ขึ้นในภาคกลางของดินแดนสุวรรณภูมิ และมีชุมชนเมืองสมัยทวาราวดีสำคัญหลายแห่งได้แก่     เมืองนครชัยศรี (นครปฐมโบราณ น่าจะเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรในลุ่มแม่น้ำท่าจีน) เมืองอู่ทอง (จังหวัดสุพรรณบุรีในลุ่มแม่น้ำท่าจีน)   เมืองพงตึก(จังหวัดกาญจนบุรี ในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง )   เมืองละโว้(จังหวัดลพบุรีใน ลุ่มแม่น้ำลพบุรี)    เมืองคูบัว(จังหวัดราชบุรี ในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง)  เมืองอู่ตะเภา(บ้านอู่ตะเภา อ.มโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา) เมืองบ้านด้าย(ต.หนองเต่า อ.เมืองจ.อุทัยธานี ในแควตากแดด) เมืองซับจำปา(บ้านซับจำปา จังหวัดชัยนาทในลุ่มแม่น้ำป่าสัก  ) เมืองขีดขิน(อยู่ในจังหวัดสระบุรี) และบ้านคูเมือง(ที่อำเภออินทรบุรี จังหวัดสิงห์บุรี) นอกจากนั้นพบเมืองโบราณสมัยทวารวดีอีกหลายแห่ง เช่น ที่บ้านหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี  รวมทั้งหมู่บ้านในเขตอำเภอบ้านหมี่ และโคกสำโรง จังหวัดลพบุรีเป็นต้น
ชุมชนเมืองสมัยทวารวดีในภาคเหนือ พบที่เมืองจันเสน(อยู่ที่ตำบลจันเสน  อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ลุ่มแม่น้ำลพบุรี) เมืองบึงโคกช้าง (อยู่ในตำบลไผ่เขียว อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานีในแควตากแดด ลุ่มน้ำสะแกกรัง) เมืองศรีเทพ(ที่จังหวัดเพชรบูรณ์  ลุ่มแม่น้ำป่าสัก) เมืองหริภุญชัย(ที่จังหวัดลำพูนในลุ่มแม่น้ำปิง) และ เมืองบน(อยู่ที่ อำเภอพยุหคิรี จังหวัดนครสวรรค์  ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา)
ชุมชนเมืองสมัยทวารวดีที่ในภาคตะวันออก  มีเมืองโบราณสมัยทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑–๑๘ อยู่ที่เมืองพระรถ (อยู่ตำบลหน้าพระธาตุ อำเภอพนัสนิคม  จังหวัดชลบุรี ซึ่งพบเครื่องถ้วยเปอร์เซียสีฟ้า) มีถนนโบราณติดต่อกับเมืองศรีพะโล      ซึ่งเป็นเมืองท่าสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๕–๒๑  (อยู่ตำบลหนองไม้แดง  อำเภอเมืองชลบุรี  ลุ่มน้ำบางปะกง)ซึ่งพบเครื่องถ้วยจีน และญี่ปุ่นจากเตาอะริตะแบบอิมาริ อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒       และติดต่อถึงเมืองสมัยทวาราวดีที่อยู่ใกล้เคียงกันเช่นเมืองศรีมโหสถ (ที่อำเภอโคกปีบ จังหวัดปราจีนบุรี)    เมืองดงละคร(ที่นครนายก)   เมืองท้าวอุทัย และ บ้านคูเมือง(จังหวัดฉะเชิงเทรา)
ชุมชนเมืองสมัยทวาราวดี ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น มีเมืองฟ้าแดดสงยาง หรือฟ้าแดดสูงยาง(ที่อำเภอกมลาไสยจังหวัดกาฬสินธุ์) ภูพระบาท(ที่อุดรธานี) เมืองโบราณที่พบในอำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดนครพนม  จังหวัดสกลนครและเมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว
ส่วนชุมชนเมืองสมัยทวาราวดีในภาคใต้นั้น ปรากฏว่าอิทธิพลของอาณาจักรทวาราวดีนั้น สามารถแพร่ลงไปถึงเมืองไชยา(สุราษฎร์ธานี)  เมือง นครศรีธรรมราช และเมืองยะรัง( ปัตตานี) ของอาณาจักรศรีวิชัยด้วย
อาณาจักรทวารวดีนั้นจึงเป็นดินแดนเป็นของ ชนชาติมอญโบราณ มีศูนย์กลางที่เมืองนครปฐมโบราณ( ลุ่มแม่น้ำท่าจีนหรือนครชัยศรี) กับเมืองอู่ทองและเมืองละโว้(ลพบุรี)  ต่อมาได้ขยายอำนาจขึ้นไป ถึงเมืองหริภุญชัยหรือลำพูน  มีหลักฐานเล่าไว้ว่า ราว พ.ศ.๑๑๐๐ พระนางจามเทวี ราชธิดาของเจ้าเมืองลวปุระหรือละโว้ลพบุรี ได้อพยพผู้คนขึ้นไปตั้งเมืองหริภุญชัยที่ลำพูน  ส่วนที่เมืองนครปฐมนั้นมีการพบ พระปฐมเจดีย์ ซึ่งเชื่อกันว่าบรรจุพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า เมื่อแรกสร้างมีลักษณะคล้ายสถูปแบบสาญจี ที่พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้ในอินเดีย เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๓-๔ และมีการพบจารึกภาษาปัลลวะ บาลี สันสกฤต และ ภาษามอญ ที่บริเวณพระปฐมเจดีย์และบริเวณใกล้เคียง พบจารึก ภาษามอญ อักษร ปัลลวะ บันทึกเรื่องการสร้างพระพุทธรูป เสาหงส์ วิหาร และแนวต้นมะพร้าวเป็นอาณาเขตพระอารามที่วัดโพธิ์ร้าง  จังหวัดนครปฐม อายุราว พ.ศ.๑๒๐๐ (ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระปฐมเจดีย์)     และพบ จารึกมอญ ที่ลำพูนอายุราว พ.ศ.๑๖๒๘(ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน)
สำหรับเมืองอู่ทองนั้น ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำจรเข้สามพันโบราณ เป็นสาขาของแม่น้ำท่าจีน ซึ่งเปลี่ยนทางเดิน ด้วยปรากฏมีเนินดินและคูเมืองโบราณ เป็นรูปวงรีกว้างประมาณ ๑ กิโลเมตร ยาวประมาณ ๒ กิโลเมตร  มีป้อมปราการก่อด้วยศิลาแลง มีการพบโบราณวัตถุอายุสมัย พ.ศ.๖๐๐–๑๖๐๐ จำนวนมาก      นอกจากนี้ยังได้สำรวจพบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญอีกหลายแห่งเช่น
แหล่งโบราณคดีที่โบราณสถานคอกช้างดิน  ตำบลจรเข้สามพัน  อำเภออู่ทอง  จังหวัดสุพรรณบุรีนั้น  พบเงินเหรียญสมัยทวารวดีเป็นตรารูป แพะ สายฟ้า พระอาทิตย์ พระจันทร์ และรูปหอยสังข์  บางเหรียญจารึกอักษรปัลลวะและพบปูนปั้นรูปสตรีหลายคน เล่นดนตรีชนิดต่างๆ  เป็นต้นเป็นหลักฐานนี้ชี้ให้เห็นว่า เมืองอู่ทอง มีฐานะเป็นเมืองสำคัญแห่งหนึ่งของอาณาจักรทวารวดี
เมืองนครไชยศรีโบราณ  ซึ่งอยู่บริเวณที่ตั้งของวัดจุลประโทณ จังหวัดนครปฐมในปัจจุบัน และถัดออกจากองค์พระปฐมเจดีย์ไปทางทิศใต้ ประมาณ ๕๒ กิโลเมตรนั้นมีที่ดอน สำรวจพบคูเมืองโบราณรูปสี่เหลี่ยม ขนาด ๓,๖๐๐ x ๒,๐๐๐ เมตร มีลำน้ำบางแก้วไหลผ่านกลางเมืองโบราณออกไป ตัดคลองพระประโทณ ผ่านคลองพระยากง บ้านเพนียด  บ้านกลาง บ้านนางแก้ว แล้วออกสู่แม่น้ำนครไชยศรี       พบโบราณวัตถุสมัยทวารวดีจำนวนหนึ่ง ของเมืองนครไชยศรีโบราณแห่งนี้ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ
เมืองโบราณกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม  มีลักษณะคล้ายสำเภาโบราณ    ขนาดประมาณ ๓๒๕ ไร่ ( ปรากฏคันดินคูน้ำ สระน้ำและทางน้ำเก่าต่อกับห้วยยาง ปัจจุบันส่วนใหญ่มักจะตื้นเขิน) เป็นเมืองใหญ่ของ อาณาจักรทวารวดีโบราณ มีวัดพระประโทณเป็นศูนย์กลาง ลักษณะเกือบเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส  มีการขุดสระน้ำขนาดต่าง ๆ  มีคลองขุดจากคลองพระประโทณผ่านไปยังดอนยายหอม ยาวประมาณ ๘ กิโลเมตร  มีเส้นทางน้ำหลายสายที่ยังปรากฏอยู่  เช่น คลองบางแก้ว คลองรังไทร และคลองรางพิกุล   เป็นต้น
การพบศิลาสลักรูปวงล้อพระธรรมจักร์กับกวางหมอบ  เปลือกหอยทะเล สมอเรือ และสายโซ่เรือขนาดใหญ่ในเมืองนครปฐมโบราณ เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงว่าในสมัยก่อนนั้น เมืองโบราณแห่งนี้อยู่ติดกับทะเล หรือเป็นเมืองสำคัญของอาณาจักรทวารวดี    ซึ่งมีการพบชิ้นส่วนของพระพุทธรูปจำนวนมาก  และยังได้พุทธรูปหินทรายสลักประทับนั่ง ขนาดใหญ่ สมัยทวารวดี  จำนวน ๔ องค์  ที่วัดพระเมรุ  ใกล้องค์พระปฐมเจดีย์ ปัจจุบันนี้พระพุทธรูปองค์หนึ่ง ได้อัญเชิญไปไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยาจังหวัดอยุธยา  องค์ที่สองอยู่ในอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์   องค์ที่สามอยู่ที่ลานประทักษิณด้านทิศใต้ขององค์พระปฐมเจดีย์ และองค์ที่สี่ อยู่ในวิหารน้อยวัดหน้าพระเมรุ จังหวัดอยุธยา นอกจากนี้ยังพบพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาท ศิลปทวารวดีสลักอยู่ในถ้ำฤาษี เขางู จังหวัดราชบุรี ด้วย  จากหลักฐานที่พบสถาปัตยกรรมศิลปสมัยทวารวดี จากลายปูนปั้นประดับฐานเจดีย์ที่วัดพระเมรุ และเจดีย์จุลประโทณที่เมืองนครชัยศรี หรือนครปฐมโบราณนั้นปรากฏว่า เป็นศิลปที่มีรูปแบบคล้ายคลึงกับ อานันทเจดีย์ที่พุกาม  ประเทศพม่า 
นอกจากนี้ยังมีแหล่งโบราณคดีอื่นๆ ที่สำรวจพบเมืองโบราณ และชิ้นส่วนรูปปั้นดินเผา   ปูนปั้นลายผักกูดศิลปสมัยทวารวดีอีก เช่น ที่บ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี
ในจังหวัดเพชรบูรณ์ขุดพบธรรมจักรศิลาขนาดใหญ่ สมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๓–๑๔ ที่เมืองโบราณศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ นั้นเป็นหลักฐานที่แสดงว่าชุมชนแห่งนี้ ได้มีการนับถือศาสนาพุทธแล้ว   ส่วนหลักฐานสำคัญของพุทธศาสนาสมัยทวารวดีนั้น พบที่วัดโพธิ์ชัยเสมาราม เมืองฟ้าแดดสงยาง(หรือฟ้าแดดสูงยาง) อำเภอกมลาไสย  จังหวัดกาฬสินธุ์   ใกล้แม่น้ำชี ซึ่งพบเสมาหินจำนวนมาก เป็นเสมาหินทรายสมัยทวารวดี ขนาดใหญ่อายุราว ๑,๒๐๐ ปี มีอายุเก่าแก่กว่าสมัยขอมนครวัด   ใบเสมานั้นจำหลักเรื่องพุทธประวัติ โดยรับอิทธิพลมาจากศิลปแบบคุปตะ ของอินเดีย พบเสมาหินบางแท่งมีจารึกอักษรปัลลวะ ของอินเดียใต้ไว้ด้วย
บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท  อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี  พบภาพสลักภาพนูนสูง อยู่ในซอกผนังหินทราย เป็นพระพุทธรูปศิลปทวารวดี ประทับนั่งขัดสมาธิ ในบริเวณที่เรียกว่าถ้ำพระ เศียรพระพุทธรูปองค์นี้ถูกทำลายต่อมาได้ซ่อมแซมให้สมบูรณ์แล้ว
สำหรับดินแดนภาคใต้นั้น มีการขุดพบดินเผาลวดลายดอกบัวศิลป สมัยทวารวดีที่เมืองโบราณยะรัง    จังหวัดปัตตานี ใช้สำหรับตกแต่งโบราณสถาน   สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้กล่าวถึงการสิ้นสุดของอาณาจักรทวารวดีไว้ว่า
“พระเจ้าอนุรุทรมหาราชแห่งเมืองพุกามประเทศพม่า   ทรงยกกองทัพเข้ามาโจมตีของอาณาจักร
ทวาราวดี  จนทำให้อาณาจักรทวารวดีสลายสูญไป”
ต่อมาอาณาจักรขอมหลังจากพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ สวรรคตใน พ.ศ. ๑๗๓๒ อำนาจก็เริ่มเสื่อมลง ทำให้บรรดาเมืองประเทศราช ที่อยู่ในอิทธิพลของขอมต่างพากันตั้งตัวเป็นอิสระ    ดังนั้นในปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พ่อขุนบางกลางหาว  เจ้าเมืองบางยาง และพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ซึ่งได้พระนางสิขรเทวีพระธิดาขอม เป็นมเหสีและได้รับพระนามว่า”ขุนศรีอินทราทิตย์”พร้อมพระขรรค์ชัยศรี ได้ร่วมกันทำการยึดอำนาจจากขอม  และให้พ่อขุนบางกลางหาว  สถาปนาเป็น พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และประกาศตั้งอาณาจักรสุโขทัย เป็นอิสระจากการปกครองของขอม
พ่อขุนรามคำแหง พระราชโอรสของขุนศรีอินทราทิตย์ ได้ครองราชย์และทรงดัดแปลงอักษรขอมและ มอญ มาประดิษฐเป็นลายสือไทย
ในศิลาจารึกสุโขทัย หลักที่ ๑ ของพ่อขุนรามคำแหง ได้ระบุชื่อเมืองที่อยู่ในอำนาจของสุโขทัยหลายเมือง    ก่อนนั้นเมืองเหล่านี้ เคยอยู่ในอาณาจักรทวารวดีโบราณ เช่นเมืองสุพรรณภูมิ(สุพรรณบุรี) เมืองราชบุรี เมืองเพชรบุรี เมืองแพรก(ชัยนาท) เป็นต้น
ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๗ พระเจ้าไชยศิริ โอรสของพระเจ้าพรหมแห่งโยนกนครทางเหนือ ถูกกษัตริย์เมืองสุธรรมวดียกกองทัพมารุกราน พระเจ้าไชยศิริสู้ไม่ได้จึงหนีข้าศึกมาเมืองกำแพงเพชร และอพยพหนีลงมาถึงดินแดนที่เคยเป็นอาณาจักรทวารวดี แล้วตั้งราชวงศ์อู่ทองขึ้น
ต่อมา พ.ศ. ๑๘๙๓ พระเจ้าอู่ทองทรงย้ายราชธานีจากเมืองอู่ทอง มาตั้งมั่นที่บริเวณใกล้เมืองอโยธยาเดิมที่ปละคูจาม ใกล้หนองโสน (อาจเป็นเพราะแม่น้ำจรเข้สามพันเปลี่ยนทางเดิน หรือ เกิดโรคระบาด) แล้วพระองค์ได้ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี นามว่า “กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยาฯ”
ข้อมูลจาก   http://www.geocities.com/siam_discovery/history.html

หมู่บ้านปฐมทราวดี 1

พระพุทธรูปในศิลปะทวารวดี


DSC_0015

พบในจังหวัดนครปฐม เดิมประดิษฐานอยู่ทางด้านทิศใต้ของพระปฐมเจดีย์ ชาวบ้านเรียกว่า พระยากง
ลักษณะ เป็นพระพุทธรูปปางวิตรรกะทั้งสองพระหัตถ์ บนฐานบัวคว่ำสลักจากหิน 3 ก้อน ประกอบด้วยเหล็กตัวไอยึดที่ด้านหลัง พระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม แบนกว้าง เม็ดพระศกกลมใหญ่เรียงเป็นระเบียบจนจรดปลายเกตุมาลาซึ่งเป็นรูปกรวยคว่ำ พระขนงสันนูนโค้งต่อกันเป็นรูปปีกกา พระเนตรโปนเหลือบต่ำ พระนาสิกโตเป็นสันนูน ปลายพระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์แบะกว้างและหนา ซึ่งมีการครองจีวรบางแนบพระกาย แต่พระพระพุทธรูปองค์นี้พระหัตถ์ได้ชำรุดและไม่มีการขุดค้นพบ
ซึ่งลักษณะของพระพุทธรูปองค์นี้แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศิลปะสมัยคุปตะและหลังคุปตะอินเดีย แต่ได้มีการผสมผสานเข้ากับความเป็นท้องถิ่น ซึ่งถือได้ว่าเป็นลักษณะพิเศษที่ปรากฏในประติมากรรมสมัยทวาราวดีในจังหวัดนครปฐมและราชบุรี

หมู่บ้านปฐมทราวดี 1



พระพุทธรูปในศิลปะทวารวดี | พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ ...

https://nationalmuseumppcd.wordpress.com/.../พระพุทธรูปในศิลปะทวารว/
พบในจังหวัดนครปฐม เดิมประดิษฐานอยู่ทางด้านทิศใต้ของพระปฐมเจดีย์ ชาวบ้านเรียกว่า พระยากง. ลักษณะ เป็นพระพุทธรูปปางวิตรรกะทั้งสองพระหัตถ์ บนฐานบัวคว่ำสลักจากหิน 3 ก้อน ประกอบด้วยเหล็กตัวไอยึดที่ด้านหลัง พระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม แบนกว้าง เม็ดพระศกกลมใหญ่เรียงเป็นระเบียบจนจรดปลายเกตุมาลาซึ่งเป็นรูปกรวยคว่ำ ...

ประวัติศาสตร์มอญ - อาณาจักรทวารวดี (มอญโบราณ) | OpenBase.in.th

www.openbase.in.th › ... › วัฒนธรรม (3269) › ชาติพันธุ์ (531) › มอญ (Mon) (160)
16 ก.พ. 2552 - พงศาวดารจีนสมัยราชวงศ์ฮั่น ได้กล่าวถึงดินแดนแห่งนี้ไว้ว่า “สามารถเดินเรือจากเมืองกวางตุ้งถึงอาณาจักรทวารวดีได้ในเวลา ๕ เดือน”. หลักฐานทางโบราณคดีที่พบในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๑–๑๓ คือเหรียญเงินเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๙ ม.ม. พบที่นครปฐม และอู่ทองนั้น พบว่ามีอักษรจารึกไว้ว่า “ศรีทวารวดีศวร”และ มีรูปหม้อน้ำกลศอยู่อีกด้านหนึ่ง ...

พระศิลา...ทวารวดีที่นครปฐม : ตอน ๑ พระประธานในโบสถ์องค์พระ

www.snc.lib.su.ac.th/west/index.php?option=com_content&view...id...
27 ก.พ. 2560 - *หมายเหตุ คำว่า พระนคร ในหนังสือเรื่อง “พระพุทธรูปศิลาขาว สมัยทวารวดี” มีวงเล็บคำ (ศรีอยุธยา) ต่อท้าย ให้ทราบว่าเป็นพระนครศรีอยุธยา. พระศิลาขาว...บันทึกประวัติ ของพระธรรมวโรดม (โชติ). พระธรรมวโรดม (ธมฺมปฺปชฺโชติโก โชติ) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ (ดำรงตำแหน่ง ๒๔๖๕-๒๔๙๗) ได้บันทึกเรื่อง “ประวัติสังเขป ...

[PDF]การศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร การตั้งถิ่น - คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ...

www.arch.su.ac.th/images/book/3archjournal/land/pdf4/01chutinan.pdf
ที่ขุดค นพบมีข อสันนิษฐานว าเป นส วนหนึ่งของอาณาจักรทวารวดีซึ่งรุ งเรืองในช วงพุทธศตวรรษที่11 - 16. เมื่ออาณาจักรทวารวดีล มสลาย นครปฐมกลายเป นเมืองร าง เนื่องจากแม นํ้าเปลี่ยนทิศทาง นครปฐมกลับมา. เป นเมืองอีกครั้งจากการที่รัชกาลที่ 4 ทรงค นพบและบูรณะปฏิสังขรณ องค พระปฐมเจดีย หลังจากนั้นมีการ.

ข้อมูลบ้านเกิด - benmitka - Google Sites

https://sites.google.com/site/benmitka/khxmul-ban-keid
ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11 - 12 อาณาจักรทวารวดี รุ่งเรืองสูงสุดในภาคกลางของประเทศไทย จากนั้นก็เข้าสู่ยุดเสื่อม ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ แต่ที่สำคัญก็คือ อาณาจักรขอม .... ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังทรงผนวชอยู่ ได้เสด็จธุดงค์ไปพบพระปฐมเจดีย์ ทรงเห็นว่าเป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และประเทศใกล้เคียง ...

พระพุทธรูปศิลาขาว (ทวารวดี) จากนครปฐม ถูกขนย้ายไปอยุธยา - สุจิตต์ วงษ์เทศ

https://www.matichon.co.th › บทความ
13 ก.ย. 2560 - เหล่านี้เมื่อ 15 ปีมาแล้ว ผมเคยเขียนบอกเล่าไว้ในหนังสือ พระปฐมเจดีย์ ไม่ใช่เจดีย์แห่งแรก แต่เป็นมหาธาตุหลวงยุคทวารวดี (สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ... ทักท้วงถกเถียงได้อีกมากและอีกนาน กรณีพระพุทธรูปศิลาขาวกับมหาเถรศรีศรัทธาและการขนย้ายไปวัดพญากง ย่านปทาคูจาม (ใกล้บ้านโปรตุเกส) และมีวัดพญาพานอยู่ถัดไปไม่ไกล.

สุจิตต์ วงษ์เทศ : นครปฐม ยุคทวารวดี เป็นชื่อสมมุติ แต่ยุคจริงๆ ไม่เคยมี - มติชน

https://www.matichon.co.th › คอลัมนิสต์
9 มี.ค. 2560 - หน้าแรก คอลัมนิสต์ สุจิตต์ วงษ์เ. ... ไม่สมควรอย่างยิ่ง ที่กรมศิลปากรจะขยายการจัดแสดงโดยเน้นศิลปวัตถุยุคทวารวดีในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ จ. นครปฐม ... ยุคทวารวดี หรือสมัยทวารวดี เป็นชื่อที่นักวิชาการสมัยหลังกำหนดขึ้นเพื่อเรียกยุคสมัยแรกเริ่มของประเทศไทยทางประวัติศาสตร์โบราณคดี และประวัติศาสตร์ศิลปะ ระหว่าง พ.ศ.

อาณาจักร "ทวารวดี" ทำไมจึงล่มสลาย - yclsakhon

www.yclsakhon.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539692640
ที่บ้านคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี มีโบราณสถานยุคทวารวดีสร้างด้วยอิฐเผา ก็แสดงว่าดินแดนแถบนครปฐม ราชบุรี และจังหวัดใกล้เคียง เป็นศูนย์กลางอาณาจักรทวารวดีแห่งแรกของดินแดนขวานทอง. วัดเขาคลังใน ... ภาพวาดแสดงโบราณสถานยุคทวารวดีที่อยู่ภายในองค์พระปฐมเจดีย์ปัจจุบัน ซึ่งก่อสร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4.
คุณไปที่หน้าเว็บนี้เมื่อ 25/4/2018

ศิลปะทวารวดี - Wikiwand

www.wikiwand.com/th/ศิลปะทวารวดี
ลักษณะพระพักตร์จะไม่เหมือนพระพุทธรูปแบบทวารวดี จะมีลักษณะคล้ายกับอินเดีย ตัวอย่างเช่น พระนารายณ์ที่ไชยาแสดงลักษณะอิทธิพลศิลปะอินเดียแบบมทุราและอมราวดี(พุทธศตวรรษที่ 6-9) รวมทั้งที่พบที่นครศรีธรรมราช ซึ่งถือสังข์ด้วยพระหัตถ์ซ้ายด้านล่าง ผ้านุ่งและผ้าคาดที่พบที่ภาคใต้และที่เมืองศรีมโหสถ จะมีผ้าคาดเฉียงเหมือนศิลปะอินเดียหลังคุปตะ ...

บ้านธนภูมิ นครปฐม ทัศนีย์ ไม่มีมัว - Home.co.th

https://www.home.co.th/home/i/2689-บ้านธนภูมิ
บ้านธนภูมิ. เริ่มต้น 2.35 ล้านบาท. ถ.บ้านบ่อ-ลำลูกบัว (นครปฐม-ดอนตูม) อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม. บ้านเดี่ยว. 150 - 0 ตร.ม. สระว่ายน้ำ. ระบบรักษาความปลอดภัย. ร.ร.ทวารวดี ร.ร.วัดวังตะกู (เสรีเริงฤทธิ์อุปถัมภ์) บิ๊กซี นครปฐม โลตัส นครปฐม ...

หมู่บ้านปฐมทราวดี

ตามรอย..ทวารวดี ที่ "ราชบุรี-นครปฐม" - ไทยรัฐ

https://www.thairath.co.th/content/1097685
14 ต.ค. 2560 - แต่สิ่งที่ยืนยันชัดว่าดินแดนแถบนี้เคยเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรทวารวดีมาก่อน เห็นจะเป็นพระพุทธรูปศิลปะทวารวดี โดย เฉพาะ พระพุทธรูปศิลาขาว หรือ “หลวงพ่อประทานพร” พระประธานในพระอุโบสถของวัดพระปฐมเจดีย์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ขุดพบในจอมปลวกที่วัดทุ่ง–พระเมรุ และชาวบ้านช่วยกันอัญเชิญมาประดิษฐานที่นี่ ...
คุณไปที่หน้าเว็บนี้เมื่อ 25/4/2018

ทวารวดี - วิกิพีเดีย

https://th.wikipedia.org/wiki/ทวารวดี
สภาพสังคมทวารวดีนั้นลักษณะไม่น่าจะเป็นอาณาจักร คงเป็นเมืองขนาดต่าง ๆ ซึ่งพัฒนาขยายตัวจากสังคมครอบครัว และสังคมหมู่บ้านมาเป็นสังคมเมืองที่มีชุมชนเล็ก ๆ ล้อมรอบ มีหัวหน้าปกครอง ... และยังเชื่อกันว่าเจดีย์องค์เดิมที่พระปฐมเจดีย์สร้างครอบทับไว้น่าจะเป็นเจดีย์ที่สร้างขี้นในสมัยนั้นโดยอาศัยการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบกับเจดีย์สาญจีของอินเดีย ...
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หมู่บ้านปฐม ทวารวดี
{"cl":3,"clt":"n","cr":6,"id":"QdNiHK38gSMOEM:","oh":578,"ou":"https://www.thairath.co.th/media/4DQpjUtzLUwmJZZPDc0dqkNmwAbjdJN4IgziWfyW91aa.jpg","ow":770,"pt":"ตามรอย..ทวารวดี ที่ \"ราชบุรี-นครปฐม\"","rh":"thairath.co.th","rid":"zBy8vzHh8jCycM","rt":0,"ru":"https://www.thairath.co.th/content/1097685","s":"","st":"ไทยรัฐ","th":90,"tu":"https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q\u003dtbn:ANd9GcRPEHSlIkYfUOk2QzClHwyG0JW0255hlUbnq_Gz1ViQ56vyDnCp-W6eVg","tw":120}
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หมู่บ้านปฐม ทวารวดี
{"clt":"n","cr":3,"id":"krnOiJmaAafFDM:","oh":441,"ou":"http://www.prachachat.net/online/2015/07/14383395831438339961l.jpg","ow":640,"pt":"เจาะลึกทุกแง่มุมประวัติศาสตร์ \"นครชัยศรี\" เมืองทวารวดีที่ถูกลืม ...","rh":"prachachat.net","rid":"5766iSH5gen8JM","rt":0,"ru":"https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid\u003d1438339583","s":"","st":"ประชาชาติธุรกิจ","th":90,"tu":"https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q\u003dtbn:ANd9GcTnKxivupqTSgrqtRaxEUW_m4TUM88xtD13jWqupKvVVSTzhowSPTn6-rU","tw":131}
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หมู่บ้านปฐม ทวารวดี
{"cl":3,"clt":"n","cr":6,"id":"q0yHvEpqEcl2UM:","oh":1067,"ou":"https://f.ptcdn.info/796/032/000/1435289472-IMG2275-o.jpg","ow":1600,"pt":"โรงแรมไมด้าทวารวดีแกรนด์ นครปฐม.... - Pantip","rh":"pantip.com","rid":"JmulPzHSwKNzJM","rt":0,"ru":"https://pantip.com/topic/33838991","s":"","st":"Pantip","th":90,"tu":"https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q\u003dtbn:ANd9GcQLhYyXfCuU17C_-idq3W0uu1Ot7rleN03Z5ZEK2HV0hPbxyU0wiCXnQTl7","tw":135}
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หมู่บ้านปฐม ทวารวดี
{"cb":18,"clt":"n","cr":3,"id":"_SGWaYcmpidLSM:","oh":633,"ou":"https://f.ptcdn.info/974/034/000/1440963298-DSCF6333JP-o.jpg","ow":950,"pt":"ย้อนรอยเส้นทางทวารวดี จากทวารวดี สู่ รัตนโกสินทร์ - Pantip","rh":"pantip.com","rid":"FcoxaYuPfdXT-M","rt":0,"ru":"https://pantip.com/topic/34122822","s":"","st":"Pantip","th":90,"tu":"https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q\u003dtbn:ANd9GcTYoxTShF7Z5F7TvSXW1v8-_DiNzgFnlgSpW_xlFgKg8vYI4_IelB_4Wo8","tw":135}
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หมู่บ้านปฐม ทวารวดี
{"clt":"n","cr":3,"id":"3cSld2VUxXTZkM:","oh":1067,"ou":"https://f.ptcdn.info/796/032/000/1435290271-IMG9803-o.jpg","ow":1600,"pt":"โรงแรมไมด้าทวารวดีแกรนด์ นครปฐม.... - Pantip","rh":"pantip.com","rid":"JmulPzHSwKNzJM","rt":0,"ru":"https://pantip.com/topic/33838991","s":"","st":"Pantip","th":90,"tu":"https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q\u003dtbn:ANd9GcR3QQTQtZuCvGEor95RMeop0-t-e2AbodGIotpI7HaX0GuC7GmShd7iLr8","tw":135}
ภาพเพิ่มเติมสำหรับ หมู่บ้านปฐม ทวารวดีรายงานรูปภาพ

ตามรอย "ทวารวดี" พาเที่ยวย้อนประวัติศาสตร์ 4 จังหวัด เรียนรู้อารยธรรมเก่าแก่ ...

https://www.prachachat.net › Spinoff › ภาพนำ spinoff
2 ธ.ค. 2560 - ออกจากสุพรรณบุรี เรามาต่อกันที่เมืองกาญจน์ หาร่องรอยอารยธรรมทวารวดีที่หลงเหลืออยู่ ศึกษาการรับอิทธิพลอารยธรรมขอม ซึ่งเป็นยุคต่อมาหลังทวารวดีเสื่อมลง .... เป็นความนิยมในศิลปะเขมรแบบบายน ในราวพุทธศตวรรษที่ 18. ปิดท้ายกับ “นครปฐม” ชมสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนาที่รุ่งเรืองในยุคทวารวดี. @องค์พระปฐมเจดีย์.

สมัยทวารวดี | นครปฐม

https://9nakhonpathom.wordpress.com/สมัยทวารวดี/
นครปฐมเป็นเมืองมาตั้งแต่สมัยแรกสร้างพระปฐมเจดีย์ คือราวๆ พ.ศ. ๓๐๐ เคยมีอำนาจสูงสุดครั้งหนึ่ง และเคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรทวารวดี (พุทธศตวรรษ ๑๑-๑๖) ปูชนียสถานที่ใหญ่โตสร้างไว้เป็นจำนวนมาก และยังเหลือเป็นพยานปรากฏอยู่อย่างเช่น วัดพระประโทณเจดีย์ วัดพระเมรุ วัดพระงาม และวัดดอนยายหอม เป็นต้น โบราณสถานที่ค้นพบล้วนฝีมือประณีต ...

ท่องตามเส้นทาง “ทวารวดี” ที่ราชบุรี-กาญจฯ-สุพรรณ-นครปฐม - Sanook

https://www.sanook.com/travel/1057809/
9 ต.ค. 2555 - "ทวารวดี" ชื่อนี้อาจไม่คุ้นหูคนทั่วไป ยิ่งหากไม่ได้สนใจประวัติศาสตร์ อาจไม่รู้ว่ายุคทวารวดีนั้น ถือเป็น "ปฐมบท" ของยุคประวัติศาสตร์ไทย พูดง่ายๆ ว่า "ยุคประวัติศาสตร์" ของเรา ... สุพรรณบุรี ที่เดิมเป็นสังคมหมู่บ้าน เริ่มรับวัฒนธรรมมาพัฒนาและเปลี่ยนแปลงชุมชนขึ้นเป็นสังคมเมืองในพุทธศตวรรษที่ 7-8 มีการขุดคูน้ำคันดิน การจัดระเบียบการปกครอง ...

คนทวารวดี .....ที่นครปฐม - OKnation

oknation.nationtv.tv/blog/lovelearnlife/2013/06/29/entry-1
29 มิ.ย. 2556 - หลังจากได้รับความรู้และการจัดกิจกรรมเพื่อใช้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์เป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูล. “บรรพชน คนทวารวดี” อันเป็นประวัติศาสตร์ ของนครปฐม. เพียงแค่เดินข้ามถนนจากโรงเรียนวัดพระปฐมเจดีย์ เข้าไปในถนนขวาพระ ขององค์พระปฐมเจดีย์. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ ก็พร้อมนำเข้าสู่ ...

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ - Museum Thailand

www.museumthailand.com/Phra_Pathom_Chedi
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ เป็นพิพิธภัณฑสถานประเภทโบราณคดีและประวัติศาสตร์โบราณวัตถุที่นำมาจัดแสดงส่วนใหญ่เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖) ที่เก็บรวบรวมได้ในจังหวัดนครปฐม ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวของนครปฐมในอดีต เริ่มตั้งแต่หลักฐานทางโบราณคดีที่พบในนครปฐม ซึ่งมีอายุเก่าไปถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อราว ...

“พระปฐมเจดีย์” ไม่ใช่เจดีย์แห่งแรกในดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน ...

https://www.silpa-mag.com › สโมสร › สโมสรศิลปวัฒนธรรม
12 พ.ย. 2560 - เมืองนครปฐมโบราณก้าวขึ้นมามีความสำคัญนำหน้าเมืองอู่ทองตั้งแต่ยุคหลังทวารวดีลงมา (หลัง พ.ศ. ... ชื่อพระปฐมเจดีย์จึงถือกำเนิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 นี่เอง ซึ่งแต่เดิมมาชาวบ้านก็ไม่ได้เรียกว่า “พระปฐมเจดีย์” แต่เรียกกันว่า “พระธาตุหลวง” หรือบ้างก็เรียกว่า “พระธม” ตามที่ปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2 จารึกวัดศรีชุม. ซึ่งคุณสุจิตต์ ...

ทวาราวดีมีดีต้องโชว์ ตอน องค์พระปฐมเจดีย์ นครปฐม – Travel Thai Culture

www.travelthaiculture.com/ทวาราวดีมีดีต้องโชว์-ต-8/
23 ก.ย. 2560 - วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ภายในวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหารเป็นที่ตั้งขององค์พระปฐมเจดีย์ หรือเดิมเรียกว่า พระธมเจดีย์. เป็นพระเจดีย์ใหญ่ รูป ระฆังคว่ำ ปากผายมหึมา โครงสร้างเป็นไม้ซุง รัดด้วยโซ่เส้นมหึมาก่ออิฐ ถือปูน ประดับด้วยกระเบื้องปูทับ ประกอบด้วยวิหาร 4 ทิศ กำแพงแก้ว 2 ...